สังเกตอย่างไรว่า..ผู้สูงอายุหูตึง
การสูญเสียการได้ยิน เป็นอีกหนึ่งปัญหาของวัยผู้สูงอายุ เนื่องจากหูชั้นในเกิดการเสื่อมของการได้ยินเพิ่มขึ้นตามอายุ แม้ว่าอาการหูตึงในผู้สูงอายุจะไม่เป็นโรคร้ายแรงอันตราย แต่ด้วยเป็นภาวะที่ค่อยเป็นค่อยไป ทำให้ผู้สูงอายุเกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในการสื่อสารกับผู้อื่นน้อยลงโดยไม่รู้ตัว เกิดปัญหาระหว่างผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวกับผู้สูงอายุได้ หากมีอาการรุนแรง นอกจากผลกระทบทางด้านร่างกายแล้ว การไม่สามารถสื่อสารกับคนรอบข้างได้อย่างเป็นปกติยังมีผลกระทบทางด้านจิตใจได้อีกด้วย การสูญเสียการได้ยินที่พบบ่อย – การติดเชื้อของหูชั้นกลาง (Otitis Media) หรือหูน้ำหนวก เป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินชั่วคราว มักพบในเด็ก – การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงอึกทึก (Noise-Induced) เป็นสาเหตุของการสูญเสียการได้ยินชนิดถาวร – สูญเสียการได้ยินเนื่องจากวัยชรา (Presbyacusis) มีการสูญเสียการได้ยินในช่วงเสียงที่มีความถี่สูง สาเหตุบางอย่างของการสูญเสียการได้ยิน – ความผิดปกติแต่กำเนิดจากสาเหตุทางกรรมพันธุ์ – มารดามีความผิดปกติขณะตั้งครรภ์, คลอด – การติดเชื้อแบคทีเรียหรือไวรัส เช่น โรคไข้สมองอักเสบ คางทูม งูสวัด เป็นต้น – การได้รับยาบางตัวที่ก่อให้เกิดพิษต่อประสาทหู เช่น ยาต้านมะเร็ง ยาปฏิชีวนะบางชนิด เป็นต้น – การประกอบอาชีพ หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง – อุบัติเหตุต่อศีรษะที่กระทบถึงประสาทหู – โรคบางชนิด เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการได้ยิน ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ผิดปกติ โรคแพ้ต้านทานตัวเอง โรคเบาหวาน โรคไต และโรคไขมันในเลือดสูง – เสื่อมตามธรรมชาติ อาการของการสูญเสียการได้ยิน
  • ได้ยินเสียงเบาลง รู้สึกหูสองข้างได้ยินไม่เท่ากันหรือการรับฟังเสียงมีปัญหาเมื่ออยู่ในที่มีเสียงรบกวน
  • ได้ยินเสียงพูดแต่ไม่สามารถเข้าใจคำพูดของผู้พูด
  • ถามคำถามซ้ำๆ
  • เปิดเสียงวิทยุหรือโทรทัศน์ดังกว่าคนที่มีการได้ยินปกติ
  • ไม่สามารถเข้าใจเสียงคำพูดทางโทรศัพท์
  • มีเสียงรบกวนในหูร่วมกับอาการหูอื้อ อาจมีอาการเวียนศีรษะร่วมด้วย
การตรวจด้วยตนเองอย่างง่าย
  • ถูนิ้วที่ข้างหู
  • พูดเสียงกระซิบ
  • เสียงเข็มนาฬิกาเดิน
ฉะนั้น เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการได้ยินไม่ชัด ได้ยินไม่ครบทั้งประโยค ขอให้พูดซ้ำหลายๆ ครั้ง ดูโทรทัศน์เสียงดังกว่าปกติ พูดเสียงดังกว่าปกติ อย่าชะล่าใจ ควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจการได้ยิน   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมาย กรุณาติดต่อ : แผนกตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช
โทร. 032-322274-80 ต่อ 371, 375