แผลแค่นี้..มีโอกาสเป็นบาดทะยัก?
โรคบาดทะยัก (Tetanus)  เกิดจากสารพิษจากแบคทีเรีย บาดทะยักเป็นโรคที่มีความรุนแรงและก่อให้เกิดอาการเจ็บปวดต่อผู้ป่วย บาดทะยักส่งผลต่อระบบประสาททำให้ให้กล้ามเนื้อบริเวณกรามและคอมีอาการกระตุก เมื่อสารพิษเข้าสู่ระบบประสาทจะใช้เวลาหลายเดือนในการฟื้นตัวจากการติดเชื้อบาดทะยัก สาเหตุโรคบาดทะยัก สาเหตุของบาดทะยักเกิดจากสารพิษที่พบในสปอร์ของแบคทีเรียที่เรียกว่า Clostridium tetani แบคทีเรียเหล่านี้สามารถพบได้ในดิน ฝุ่น และมูลสัตว์ เมื่อสปอร์เหล่านี้เข้าไปในบาดแผลที่มีความลึก จะเติบโตกลายเป็นสารพิษที่ส่งผลทำให้เส้นประสาทเกิดการเสื่อม และยังส่งผลต่อเส้นประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อ ก่อให้เกิดอาการตึงและการกระตุก บาดทะยักไม่ใช่โรคติดต่อ บาดทะยักมักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนบาดทะยักหรือไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันทุกๆ 10 ปี  ปัจจัยเสี่ยง ปัจจัยที่อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคบาดทะยัก มีดังนี้ 
  • ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักหรือได้รับวัคซีนบาดทะยักในจำนวนที่ไม่ครบ  
  • มีบาดแผลทำให้สปอร์ของแบคทีเรียเข้าไปในแผล  
  • มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในผิวหนังอย่างเช่น ตะปู หรือเสี้ยน 
สาเหตุที่ทำให้เกิดบาดทะยัก มีดังนี้ 
  • แผลจากของมีคม อย่างเช่น เสี้ยน การเจาะตามส่วนต่างๆของร่างกาย หรือการสัก 
  • แผลจากการโดนยิง 
  • กระดูกหักแผลปิด 
  • แผลไฟไหม้
  • แผลจากการผ่าตัด
  • แผลจากการฉีดยาเข้าเส้นเลือด
  • แมลงสัตว์กัดต่อย
  • แผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานที่มีการติดเชื้อ
  • การติดเชื้อที่ฟัน
  • การติดเชื้อที่สายสะดือในทารกแรกเกิดที่มารดาไม่ได้รับการฉีดวัคซีนในปริมาณที่จำเป็นต่อความต้องการ
การดูแลรักษาแผล การทำความสะอาดแผลเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะช่วยป้องกันไม่ให้สปอร์ของแบคทีเรียมีการเจริญเติบโต โดยขั้นตอนการดูแลรักษาแผลเริ่มต้นด้วยการที่ผู้ป่วยล้างแผลและขจัดสิ่งสกปรก สิ่งแปลกปลอมและเนื้อเยื่อที่ตายแล้วออกจากบาดแผล  โรคบาดทะยักสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลแผล โดยแพทย์จะทำการสั่งยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการโรค เมื่อไหร่ที่ควรพบแพทย์ ผู้ป่วยควรทำการนัดหมายกับแพทย์เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการฉีดวัคซีนทุกๆ สิบปี ผู้ป่วยควรจะได้รับการฉีดวัคซีนหากเกิดบาดแผลลึก และไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าได้รับวัคซีนบาดทะยักครั้งสุดท้ายเมื่อใด ควรทำการฉีดวัคซีนบาดทะยัก   สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือทำนัดหมาย กรุณาติดต่อ : แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพเมืองราช
โทร. 032-322274-80 ต่อ 278, 285