ตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและอัลตร้าซาวด์
สิ้นสุด
31 ธันวาคม 2567

การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม (BREAST CANCER SCREENING)

1. การซักประวัติและตรวจเต้านมโดยแพทย์เฉพาะทาง (History Taking & Clinical Breast Examination) โดยแพทย์จะทำการซักประวัติถึงอาการสำคัญที่นำมาพบแพทย์ อาการผิดปกติอื่นๆ ของเต้านมและระบบอวัยวะต่างๆ ทั้งร่างกาย รวมถึงประเมินปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมของผู้ป่วย ต่อด้วยการตรวจเต้านม ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ไหปลาร้าโดยละเอียด และสอนให้ผู้ป่วยสามารถตรวจเต้านมได้ด้วยตนเอง โดยควรคลำดูเดือนละครั้ง 2. การทำแมมโมแกรม (Mammography) ในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จะส่งตรวจแมมโมแกรม เพื่อดูความผิดปกติ เช่น ก้อนในเต้านม ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ กลุ่มหินปูนผิดปกติ เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีของการถ่ายภาพแมมโมแกรมไปมาก จากอดีตที่ถ่ายภาพแมมโมแกรมลงบนฟิลม์ธรรมดา (Analog mammography) ไปเป็นดิจิตอลแมมโมแกรมความละเอียดสูง (Digital mammography) จนถึงแมมโมแกรมแบบ 3 มิติ (Breast 3D Tomosynthesis) ซึ่งจะทำให้ตรวจพบความผิดปกติได้จากเดิมที่ตรวจไม่พบ หรือ ถ้าตรวจพบแล้วก็ทำให้มองเห็นความผิดปกติได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
3. อัลตร้าซาวด์เต้านม (Ultrasound Breast) ผู้หญิงในทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะมีขนาดเต้านมเล็กกว่าผู้หญิงทางฝั่งยุโรปหรืออเมริกัน และมีเนื้อเต้านมที่แน่นมากกว่า โดยเฉพาะในกลุ่มสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ทำให้บางครั้งมองไม่เห็นความผิดปกติได้ชัดเจนโดยการทำแมมโมแกรมเพียงอย่างเดียว การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเพียงอย่างเดียว หรือทำควบคู่ไปกับแมมโมแกรมในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 35 ปีจะช่วยตรวจหาและวัดขนาดสิ่งผิดปกติ เช่น ก้อนเนื้องอก ก้อนซีสต์หรือถุงน้ำ ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ได้ดียิ่งขึ้น สอบถามเพิ่มเติม แผนกตรวจสุขภาพ โทร. 032-322274-80 ต่อ 218, 233
แพ็กเกจแนะนำ